วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

สัญลักษณ์ประจำชาติไทย

                              สัญลักษณ์ประจำชาติไทย




Dino-Lite กล้องจุลทรรศน์พกพา รางวัลยอดเยี่ยมโลก



Dino-Lite กล้องจุลทรรศน์พกพา รางวัลยอดเยี่ยมโลก



Dino-Lite กล้องจุลทรรศน์พกพา รางวัลยอดเยี่ยมโลก


สัญลักษณ์ประจำชาติไทย 
 
พวกเราคงทราบกันดีแล้วว่า สัตว์ ดอกไม้ และสถาปัตยกรรม ที่เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ คือ "ช้างไทย" หรือ "Chang Thai" (Elephant) ดอกราชพฤกษ์ หรือ Ratchaphruek (Cassia fistula Linn) และ "ศาลาไทย" หรือ "Sala Thai" (Pavilion)
แต่บางท่านอาจยังมีไม่ทราบเหตุผลที่คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ลงมติเลือก ช้างไทย ดอกราชพฤกษ์ และศาลาไทย เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ  
ช้างเผือกเป็นสัตว์ที่มีความผูกพันเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และประเพณีไทยมายาวนาน อีกทั้งช้างไทยเป็นที่รู้จักแพร่หลายในสังคมโลก   ดังนั้น เพื่อกระตุ้นสังคมไทยให้ระลึกถึงช้าง สัตว์คู่บ้านคู่เมืองและคู่ป่า ทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันช้างไทย  (ภาพช้างเผือกบนพื้นแดง เป็นรูปของธงชาติสยาม ปี พ.ศ.2398-2459)
ส่วนดอกราชพฤกษ์ หรือ คูน เป็นต้นไม้พื้นเมืองที่รู้จักแพร่หลาย มีในทุกภาค ใช้ประโยชน์ได้สารพัด เช่น ฝักเป็นสมุนไพรในตำรับแพทย์แผนโบราณ แก่นแข็งใช้ทำเสาเรือน  เป็นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนามและอาถรรพ์ แก่นไม้เคยใช้ในพิธีสำคัญ ๆ มาก่อน เช่น พิธีลงหลักเมือง เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืนนานและทนทาน มีทรวดทรงและพุ่มงาน ดอกเหลืองอร่ามเต็มต้น เป็นสัญลักษณ์แห่งพุทธศาสนา
 สำหรับศาลาไทย เป็นสถาปัตยกรรมที่สะท้อนภูมิปัญญาช่างไทย มีความสง่างามที่โดดเด่นจากสถาปัตยกรรมชาติอื่น  จึงสมควรที่จะรักษาเอกลักษณ์และส่งเสริมให้ชาวต่างชาติได้มีโอกาสชื่นชมศาลาไทย
 

ข้อสังเกต การใช้สัญลักษณ์ประจำชาติไทย

      
       ในส่วนที่มีบุคคลหรือบริษัทนำเครื่องหมายหรือภาพดังกล่าวมาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าและนายได้รับจดทะเบียนไปให้แล้วนั้น กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศไปแล้วว่า ผู้ที่ได้จดทะเบียนไปแล้วจะยังคงได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย รวมถึงมีสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้านั้นต่อไป แต่สำหรับผู้ที่เพิ่งยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่มีสัญลักษณ์ประจำชาติ นายทะเบียนจะปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนให้                                               
เหตุผลในการไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เป็นสัญลักษณ์ ประจำชาติ กล่าวคือ   เพื่อให้เป็นสมบัติกลางของคนไทยทุกคน เพื่อให้ทุกคนมีสิทธิในการใช้เพื่อให้เป็นที่รู้จักกันในหมู่ประชาคมโลก จึงไม่ควรที่จะนำมาให้ใครคนใดคนหนึ่งจดทะเบียนเป็นเจ้าของสิทธิเพียงผู้เดียว   และทันทีที่รัฐบาลประกาศใช้สัญลักษณ์ประจำชาติ ทำให้คนไทยทุกคนทราบว่า ประเทศไทยมีสัญลักษณ์ประจำชาติที่อวดสู่สายตาชาวโลกได้แล้ว จึงถือเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายได้การปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนจึงเป็นการอาศัยอำนาจตามมาตรา ๘(๑๐) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๓
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ได้ประกาศให้ภาพหรือสัญลักษณ์ประจำชาติไทยทั้ง ๓ สิ่งนี้ เป็นเครื่องหมายต้องห้ามรับจดทะเบียนตามมาตรา ๘(๑๓) ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องเครื่องหมายที่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ แล้ว ซึ่งรวมถึงเครื่องหมายที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือคล้ายกับภาพสัญลักษณ์ประจำชาติไทย  ก็ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนด้วย
การห้ามมิให้รับจดทะเบียนนี้  เป็นการห้ามรับจดทะเบียนทางทะเบียน เพื่อมิให้ผู้ใดผู้หนึ่งอ้างความเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นแต่ผู้เดียว แต่มิได้ห้ามคนไทยที่จะใช้ภาพหรือสัญลักษณ์เป็นเครื่องหมายการค้ากับสินค้าของตน แต่การใช้ก็ควรที่จะอยู่ในลักษณะที่ไม่เป็นการดูหมิ่นเหยียดหยาม และจะต้องไม่เป็นการใช้สิทธิที่ไปกระทบถึงสิทธิของผู้อื่นด้วย ใช้อย่างไรเป็นการดูหมิ่นเหยียดหยามนั้น เป็นข้อเท็จจริงต้องพิจารณาเป็นกรณี 
แต่การนำสัญลักษณ์ประจำชาติมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้า แม้จะใช้โดยถือว่าเป็นสมบัติโดยรวมของคนไทย ซึ่งคนไทยทุกคนมีสิทธิในการใช้สัญลักษณ์นี้ก็ตาม แต่ต้องระวังด้วยว่า หากสัญลักษณ์ดังกล่าวมีบุคคลหนึ่งบุคคลใดได้รับการจดทะเบียนเป็นเครื่อองหมายการค้าไว้ก่อนแล้วสำหรับสินค้าอย่างเดียวกัน หรือสินค้าที่มีลักษณะเดียวกัน อาจไปกระทบถึงสิทธิความเป็นเจ้ าของการค้าที่ได้รับจดทะเบียนของผู้อื่นได้  ตามหลักของกฎหมายเครื่องหมายการค้า
อนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๗๓ และมาตรา ๒๗๔ ได้บัญญัติให้บุคคลต้องรับโทษทางอาญา หากมีกรณีปลอมหรือเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ซึ่งได้จดทะเบียนแล้วนอกราชอาณาจักร ดังนั้น การนำสัญลักษณ์ประจำชาติไทยไปใช้เป็นเครื่องหมายการค้า แม้จะใช้ในประเทศไทยก็ตาม ควรสำรวจตลาดสินค้าในขณะนั้นด้วยว่ามีใครสั่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทย แต่ได้จดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าไว้ในต่างประเทศ แล้วนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยหรือไม่
ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา ๘(๖) ได้บัญญัติห้ามนายทะเบียนรับจดทะเบียน หากว่าเครื่องหมายการค้าที่จะนำมาขอจดทะเบียนนั้นเป็นธงชาติหรือเครื่องหมายประจำชาติของรัฐต่างประเทศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากผู้ซี่งมีอำนาจหน้าที่ของรัฐต่างประเทศนั้น จะเห็นได้ว่าในกฎหมายไทยยังไม่ห้ามเด็ดขาด สามารถจะรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าประจำชาติของรัฐต่างประเทศได้  หากมีการอนุญาตให้ผู้ขอจดทะเบียนนำไปจดทะเบียนในประเทศไทย โดยได้รับอนุญาตให้ผู้ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ของรัฐต่างประเทศนั้น
กฎหมายในลักษณะเช่นนี้ ในต่างประเทศก็บัญญัติไว้ทำนองเดียวกัน ดังนั้น ประเทศไทยจะห้ามคนไทยนำสัญลักษณ์ประจำชาติไทยไปจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศหรือไม่ เป็นเรื่องที่น่าติดตาม     แต่อย่างไรก็ตาม การแก้ไขกฎหมายเครื่องหมายการค้าครั้งต่อไป ทางราชการได้เสนอแก้ไขกฎหมายให้เครื่องหมายประจำชาติไทยเป็นเครื่องหมายต้องห้ามรับจดทะเบียน ซึ่งห้ามมีการประกาศใช้ เครื่องหมายประจำชาติไทยจะเป็นเครื่องหมายการค้าต้องห้ามรับจดทะเบียนตามกฎหมาย มิใช่ตามประกาศของรัฐมนตรี โอกาสที่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการรับการจดทะเบียนไปก่อนหน้า อาจถูกเพิกถอนการจดทะเบียนได้ต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น